Friday, August 21, 2020

ฟลอริด้าคียส์ มีแผนจะใช้ "ยุงปราบยุง" ควบคุมโรคระบาด - วีโอเอไทย - VOA Thai

sumibar.blogspot.com

ในปีหน้าเจ้าหน้าที่ควบคุมยุงในพื้นที่ฟลอริด้าคียส์ของเขตการปกครองมอนโรว์ซึ่งอยู่ทางใต้ของรัฐฟลอริด้ามีแผนจะสร้างและปล่อยยุงขาลายที่แพร่เชื้อไวรัสไข้เหลือง ไข้ชิกุนคุนยา ไวรัสซิกาและไข้เลือดออกสู่ธรรมชาติหลายล้านตัว

ยุงดังกล่าวจะเป็นยุงตัวผู้ที่ถูกตัดแต่งทางพันธุกรรมและเมื่อผสมพันธุ์กับยุงตัวเมียแล้วถ้าลูกยุงที่เกิดมาเป็นตัวเมีย ยุงเหล่านี้จะไม่สามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้

ขณะนี้พื้นที่ฟลอริด้าคียส์ของรัฐฟลอริด้ามีปัญหาจากยุงพันธุ์ดังกล่าวที่แพร่เชื้อต่างๆ อย่างมากและโดยธรรมชาติแล้วยุงตัวเมียจะเป็นยุงที่กัดคนเพื่อดูดเลือดและแพร่เชื้อ แต่ยุงตัวผู้นั้นไม่กัดคน โครงการดังกล่าวซึ่งเป็นโครงการทดลองอาศัยเทคโนโลยีจากบริษัท Oxitech Biotechnology ที่เคยประสบความสำเร็จในเรื่องนี้มาแล้วในการควบคุมและลดประชากรยุงในประเทศบราซิลกับเคย์แมนไอร์แลนด์

แต่ถึงแม้ทางบริษัทจะยืนยันว่าการปล่อยยุงตัวผู้ที่ผ่านกระบวนการตัดแต่งทางพันธุกรรมหรือ GMO ออกสู่ธรรมชาติเพื่อควบคุมประชากรยุงนี้ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและต่อมนุษย์ก็ตามแต่ก็ยังมีเสียงคัดค้านเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่

เหตุผลหลักของการคัดค้านมีตั้งแต่เรื่องที่ว่าการปล่อยสิ่งมีชีวิตที่ผ่านกระบวนการตัดแต่งทางพันธุกรรมหรือ หรือ GMO ออกสู่สภาพแวดล้อมนั้นจะสร้างผลเสียต่อความสมดุลย์ตามธรรมชาติ รวมทั้งจากคำถามที่ว่าถ้าสัตว์อื่นที่กินยุงเป็นอาหาร เช่น กบ แมงมุม หรือนกกินยุง GMO นี้เข้าไปจะเกิดผลกระทบต่อสัตว์ต่างๆในห่วงโซ่อาหารและในระบบนิเวศน์อย่างไร คำถามหรือข้อคัดค้านอีกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับประเด็นที่ว่ายุง GMO ตัวผู้ที่ถูกสร้างขึ้นในห้องทดลองนี้ยังไม่ผ่านการพิสูจน์ของกระบวนการเลือกสรรทางธรรมชาติหรือที่เรียกว่า survival of the fittest ซึ่งหมายถึงการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตที่มีความพร้อมและสมบูรณ์ที่สุด

ดังนั้นจึงไม่มีหลักประกันว่ายุงตัวผู้สายพันธุ์ GMO จากห้องทดลองนี้จะสามารถแข่งขันกับยุงตัวผู้อื่นๆ ตามธรรมชาติเพื่อผสมพันธุ์กับยุงตัวเมียและทำให้ลูกยุงตัวเมียที่เกิดมาไม่สามารถอยู่รอดได้เสมอไป

หนึ่งในผู้ที่คัดค้านเรื่องนี้คืออาจารย์แมกซ์ โมรีโน ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคที่เกิดจากยุงของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐอินเดียนาผู้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ที่ทักทวงว่าระบบนิเวศน์ของเรามีความสลับซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตต่างๆหลายสายพันธุ์ ดังนั้นการยืนยันความสำเร็จหรือสัมฤทธิ์ผลของเรื่องนี้จากข้อมูลในห้องทดลองแต่เพียงอย่างเดียวจึงแทบจะเป็นไปไม่ได้

ขณะนี้หน่วยงานควบคุมยุงในพื้นที่ฟลอริด้าคียส์ระบุว่ามาตรการควบคุมยุงด้วยวิธีเดิมที่เคยใช้มา เช่นใช้ยาฆ่าแมลงและสารเคมีอื่นๆ นั้นได้ผลน้อยลงกับยุงพันธุ์ขาลาย ดังนั้นทางหน่วยงานจึงไม่มีทางเลือกอื่นเหลืออยู่มากนักและสิ่งที่ทางหน่วยงานต้องการขณะนี้คือการใช้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์นั่นเอง

Let's block ads! (Why?)



"โดยธรรมชาติ" - Google News
August 22, 2020 at 06:17AM
https://ift.tt/3aXSyjf

ฟลอริด้าคียส์ มีแผนจะใช้ "ยุงปราบยุง" ควบคุมโรคระบาด - วีโอเอไทย - VOA Thai
"โดยธรรมชาติ" - Google News
https://ift.tt/3cniaVt
Share:

0 Comments:

Post a Comment