Monday, August 3, 2020

เบื้องหลังใครว่าง่าย ซาวด์ลูกหนังยุคโควิด - ผู้จัดการออนไลน์

sumibar.blogspot.com

อดัม เพอรี ชายผู้อยู่เบื้องหลังเสียงบรรยากาศ
ลีกฟุตบอลระดับแนวหน้าของยุโรป ทยอยกลับมาเตะกันจนจบฤดูกาลเรียบร้อยหมดแล้วทั้ง พรีเมียร์ ลีก อังกฤษ, กัลโช่ เซเรีย อา อิตาลี, บุนเดสลีกา เยอรมนี, ลา ลีกา สเปน และ ลีก เอิง ฝรั่งเศส หลังจากเจอเชื้อไวรัสโควิด-19 ขัดขวางโปรแกรมการแข่งขันจนต้องยืดเยื้อมาแข่งจนถึงเดือนกรกฏาคม และเพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงต่อนักเตะรวมถึงทีมงาน ทุกลีกจึงจัดแข่งแบบปิดสนามไม่ให้แฟนบอลเข้ามาชม เตะกันแบบสนามเปล่า บรรยากาศเงียบเหงา

เมื่อไม่มีแฟนบอลท้องถิ่นส่งเสียงเชียร์ทีมรักและโห่ฮาใส่คู่แข่งในสนามจริง อรรถรสความเมามันที่เคยถูกส่งผ่านไปถึงเครื่องรับชมทีวีที่บ้านจึงไม่เกิดขึ้นเหมือนเดิม ทำให้สถานีโทรทัศน์ต่างๆ พยายามแก้ไข เช่น บุนเดสลีกา เยอรมนี ที่ยื่นเรื่องไปยัง อีเอ สปอร์ต เจ้าของลิขสิทธิ์เกมฟุตบอลชื่อดัง ฟีฟ่า นำเสียงแฟนบอลที่อยู่ในวีดีโอเกม เปิดออกอากาศขณะถ่ายทอดสดฟุตบอล สร้างบรรยากาศให้กับคนที่ดูถ่ายทอดสดผ่านทีวีที่บ้าน

ตัดมาที่ สกาย สถานีทีวีที่รับหน้าที่ถ่ายทอดสดฟุตบอล พรีเมียร์ ลีก อังกฤษ เวอร์ชั่น นิว นอร์มอล พวกเขาก็ต้องแก้ไขปัญหาการถ่ายทอดสดฟุตบอล ที่ไม่มีเสียงเชียร์จากคนดูในสนามส่งออกมาทางกล้องเหมือนเดิม นั่นคือการนำเทปบันทึกเสียงแฟนบอลของแต่ละทีมมาไว้ในห้องคอนโทรล แล้วให้ทีมงานเป็นผู้ควบคุมปล่อยเสียงตามจังหวะเกม โดยมี อดัม เพอรี พนักงานของ สกาย ทีวี อยู่เบื้องหลัง

ปุ่มกดเสียงต่างๆ ในคีย์บอร์ดควบคุม
อดัม เพอรี หรือฉายาเฉพาะกิจ “นอยซ์ คอนดักเตอร์” มีอุปกรณ์ประจำตัวคือคอมพิวเตอร์แล็ปท็อป ซึ่งบันทึกเสียงแฟนบอลของแต่ละทีมไว้ทุกรูปแบบเช่น เสียงเชียร์, เสียงโห่, เสียงดีใจตอนทำประตู, เสียงครวญเมื่อถูกยิงประตู ฯลฯ ทั้งหมด 40 เสียง พร้อมกับคีย์บอร์ดติดตั้งไว้หน้าแผงคอนโทรล ทุกวันทำงานเจ้าตัวจะนำอุปกรณ์เหล่านี้เข้าไปที่ห้องคอนโทรลซึ่งมีแผงควบคุมและจอถ่ายทอดสดอยู่ข้างใน และหน้าที่ของเขาก็คือคอยกดเสียงตามจังหวะเกมต่างๆ

“ผมได้คีย์บอร์ดจากทางสถานีมาใช้ มันคล้ายๆกับคีย์บอร์ดเปียโน และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อใช้งาน” อดัม เล่าถึงวันที่ได้รับมอบหมายงานที่ใช้อุปกรณ์เบสิคพื้นฐานง่ายๆ “สกาย แจ้งผมว่าฟุตบอลจะกลับมาเตะอีกครั้ง แต่จะไม่มีแฟนบอลในสนาม พวกเขารุกเต็มที่สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการถ่ายทอดสด และต้องการเพิ่มออปชั่นเข้าไปที่ทำได้ง่ายด้วยการกดปุ่ม”

มีการเปิดเผยว่าทีแรกนั้น สกาย ตั้งใจจะใช้เสียงจากเกม ฟีฟ่า แบบเดียวกับที่ บุนเดสลีกา เยอรมนี หยิบยืมมาใช้ขณะถ่ายทอดสด แต่ด้วยข้อติดขัดบางอย่างทำให้สุดท้ายพวกเขาต้องเอาเสียงคนดูจากเทปฟุตบอลพรีเมียร์ ลีก ที่ตัวเองเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์มาใช้แทนซึ่งตอบโจทย์กว่า และผลที่ออกมาก็คือเสียงเชียร์เสมือนจริงช่วยเติมอรรถรสความสนุกให้กับท่านผู้ชมทางบ้านได้เป็นอย่างดี

ดูเผินๆ เหมือนเป็นงานง่าย แค่นั่งกดปุ่มเสียงระหว่างถ่ายทอดสด แต่ เพอรี บอกว่าไม่ง่ายอย่างที่คิดเพราะทุกครั้งที่เกิดจังหวะสำคัญในสนาม เขาต้องอ่านการตัดสินใจของผู้ตัดสินก่อนกดปุ่มปล่อยเสียงออกไป หรือบางจังหวะที่นักเตะยิงประตูไปแล้ว เขาก็เผลอกดปุ่มเสียงเฮออกมา ทั้งที่ความจริงบอลไม่เข้าประตู ซึ่งเจ้าตัวก็ยอมรับว่าเป็นความผิดโดยธรรมชาติ

ห้องคอนโทรลของ สกาย
“มันเป็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ตามปกติน่ะครับ” เพอรี เล่าถึงการทำงาน “มันมองออกยากจริงๆ ต่อให้คุณอยู่หลังประตูก็ตาม ผมต้องพิจารณาอยู่หลายครั้งว่าควรจะกดปุ่มยิงประตูหรือเปล่า แน่นอนว่ามันก็มีความไม่มั่นใจอยู่บ้างแต่สุดท้ายคุณก็ต้องเลือกและกดปุ่มออกไป”

เพอรี ยังยกตัวอย่างความผิดพลาดอีกจังหวะที่เกิดขึ้นแบบไม่ตั้งใจ “ผมนั่งทำงานในเกมที่ทีมเจ้าบ้านแพ้ 0-4 ผมกับทีมงานตัดสินใจเพิ่มเสียงโห่ของเจ้าถิ่นเข้าไปเมื่อหมดเวลา งานจบลงด้วยดี แต่หลังจากนั้นทีมงานของสโมสรส่งอีเมล์มาที่ สกาย ถามว่าพวกนายทำบ้าอะไรแฟนบอลของเราจะไม่ส่งเสียงโห่แบบนั้น พวกแกมันมีอคติ”

วันสุดท้ายของ พรีเมียร์ ลีก ค่อนข้างวุ่นวายเมื่อมีการเตะพร้อมกันทั้งหมด 10 คู่ ทว่าด้วยการเตรียมตัวที่ดีทำให้ เพอรี และทีมงานเสียงทั้งหมด 6-7 คน สามารถแยกย้ายกันไปดูแลการปล่อยเสียงของเกมคู่ต่างๆได้อย่างครบถ้วนและจบลงอย่างสวยงาม ซึ่งหาก พรีเมียร์ ลีก ฤดูกาลหน้า ยังไม่ปลอดภัยจากเชื้อไวรัสโควิด-19 เพอรี และทีมงานเสียงของ สกาย ก็คงต้องกลับมาทำหน้าที่นี้อีกเช่นเคย

Let's block ads! (Why?)



"โดยธรรมชาติ" - Google News
August 03, 2020 at 01:20PM
https://ift.tt/2EHhf7f

เบื้องหลังใครว่าง่าย ซาวด์ลูกหนังยุคโควิด - ผู้จัดการออนไลน์
"โดยธรรมชาติ" - Google News
https://ift.tt/3cniaVt
Share:

0 Comments:

Post a Comment