สถาบันเทคโนโลยีจอร์เจีย (Georgia Institute of Technology) ในสหรัฐอเมริกา ผุดไอเดียสุดเจ๋งในการร่วมเป็นหนึ่งส่วนหนึ่งของการดูแลและอนุรักษ์ธรรมชาติ ด้วยการพัฒนาหุ่นยนต์สลอธ (SlothBot) ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่สำรวจธรรมชาติ เฝ้าระวังสัตว์และพันธุ์พืชที่ใกล้สูญพันธ์ุโดยเฉพาะ
จุดเด่นของหุ่นยนต์สลอธคือการที่มันเป็นหุ่นยนต์ประหยัดพลังงานที่มีประสิทธิภาพด้านการจัดการพลังงานในตัวเองได้เป็นอย่างดี (มีแผงโซลาร์เซลล์ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์) และยังเคลื่อนไหวได้เชื่องช้าไม่ต่างจากสลอธจริงๆ (สัมพันธ์กับความสามารถในการจัดการพัลงงานในตัว) โดยมันจะห้อยโหนผ่านเคเบิลที่ผูกติดระหว่างต้นไม้เพื่อคอยสำรวจสัตว์ พืชพันธ์ุนานาชนิด สิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ อุณหภูมิ สภาพอากาศ ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อรายงานสถานการณ์ทั่วไปและภัยคุกคามต่อการสูญพันธุ์ที่เกิดขึ้น
หุ่นยนต์สลอธที่สถาบันเทคโนโลยีจอร์เจียพัฒนาขึ้นมีขนาดความสูงที่ราว 91 เซนติเมตร ส่วนบริเวณลำตัวและหัวใช้วัสดุจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่ช่วยป้องกันมอเตอร์ กลไก แบตเตอรี่ และเซนเซอร์ต่างๆ ไม่ให้ได้รับความเสียหายจากการทำงานในทุกสภาพแวดล้อม
โดยในอีกไม่กี่เดือนต่อจากนี้ สถาบันเทคโนโลยีจอร์เจียจะนำเจ้าหุ่นยนต์สลอธไปติดตั้งในสวนพฤกษศาสตร์ในแอตแลนตา (Atlanta Botanical Garden) เพื่อทดสอบการทำงานเบื้องต้น ก่อนจะมองหาโอกาสในการติดตั้งมันในสภาพแวดล้อมที่ใหญ่ขึ้น เพื่อให้หุ่นยนต์สลอธสามารถสร้างประโยชน์และผลกระทบเชิงบวกกับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติได้อย่างเต็มที่
พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์
อ้างอิง:
"โดยธรรมชาติ" - Google News
June 19, 2020 at 06:28AM
https://ift.tt/2YVidn4
สลอธไม่น่ารักหรือเปล่า? สถาบันเทคโนโลยีสหรัฐฯ พัฒนาหุ่นยนต์สลอธสำรวจธรรมชาติ สัตว์ใกล้สูญพันธ์ุ - thestandard.co
"โดยธรรมชาติ" - Google News
https://ift.tt/3cniaVt
0 Comments:
Post a Comment